วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทบาทใหม่ของระบบสารสนเทศภายในองค์กร

ด้วย ขอบเขตการใช้งานที่กว้างกว่าเดิมของระบบสารสนเทศ ทำให้องค์กรมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับระบบสารสนเทศ ความซับซ้อนของกระบวนการทำงานและขอบเขตของการทำงานเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีมากยิ่งขึ้น
Picture
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับระบบสารสนเทศ

Picture
ขอบเขตการใช้งานระบบสารสนเทศที่กว้างขวางกว่าเดิม

 วิวัฒนาการ ของระบบเครือข่ายและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นอีกผลหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น กล่าวคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์หลายเครื่องให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ กลายเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า “ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์” (Computer Network) และยังมีระบบเครือข่ายที่มีขอบเขตการใช้งานอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จัก มากที่สุดในโลกอย่าง “ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต” (The Internet)       

            ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้บริการที่มีประโยชน์มากอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า “โครงข่ายโลก” หรือ WWW (World Wide Web) เป็นระบบมาตรฐานสากลในการเก็บรักษา การค้นหา และการแสดงผลบนระบบเครือข่ายที่เชื่อมกันอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย กลายเป็นวิธีการพื้นฐานสำหรับการเผยแพร่ข่าวสารในระบบสารสนเทศ
 ทางเลือก ใหม่สำหรับการออกแบบโครงสร้าง องค์กร ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ทำให้เกิดองค์กรในรูปแบบใหม่ ดังนี้

- การลดจำนวนระดับผู้บริหาร
          ทำให้มีชั้นน้อยลงกว่าเดิม ในขณะเดียวกันก็เพิ่มอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหาให้แก่ผู้บริหารระดับล่าง ผู้บริหารจึงมีอำนาจมากขึ้นกว่าในอดีตและมีความรับผิดชอบสูงขึ้น การทำงานไม่จำกัดอยู่ที่จำนวนชั่วโมงการทำงานและไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้อง ทำงานผู้บริหารอีกต่อไป ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีข่าวสารที่ทำให้พนักงานรับทราบข่าวสารที่จำเป็นได้ทันทีทันใด ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังช่วยพนักงานสามารถทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยน ข่าวสารกันได้อย่างสะดวก ความเปลี่ยนแปลงนี้จึงทำให้ผู้บริหารสามารถขยายขอบเขตความรับผิดชอบได้กว้าง กว่าเดิมและสามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย

- การแยกสถานที่ทำงานออกจากงานที่ทำ
            ด้วยเทคโนโลยีข่าวสารในปัจจุบัน อย่าง อีเมล์ ระบบอินเทอร์เน็ต และการประชุมวีดีทัศน์ ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงานหรือผู้สั่งงานสามารถทำได้โดยง่าย และไม่จำกัดสถานที่ และทำให้ส่วนประกอบบางอย่างที่ไม่จำเป็นถูกตัดออกสามารถทดแทนได้โดยการ เชื่อมต่อระบบสารสนเทศ อีกทั้งยังมีระบบการสื่อสารข้อมูลที่ทำให้การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเป็นไป ได้ง่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปด้วยตนเอง สถานที่ทำงานจึงมีขนาดเล็กลงเนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่ต้องจัดพื้นที่ สำหรับโต๊ะพนักงานอีกต่อไป

- การเพิ่มความคล่องตัวขององค์กร
             องค์กรสามารถนำเทคโนโลยีข่าวสารไปใช้เพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติในหลาย ทางซึ่งจะเกิดความยึดหยุ่นและสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ ตลอดเวลา ช่วยให้องค์กรขนาดเล็กสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ องค์กรใหญ่ ในขณะที่ช่วยให้องค์กรใหญ่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีอย่างที่ องค์กรขนาดเล็กทำได้

- วิธีการบริหารองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป
             ระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารองค์กรเพิ่มขึ้น  ผู้บริหารสามารถมองเห็นรายละเอียดและประสิทธิภาพของการทำงานระบบใดๆ ภายในองค์กรได้ตลอดเวลา องค์กรหลายแห่งได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการวางแผนความต้อง การทรัพยากรขององค์กร เรียกว่า  Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งเป็นระบบการบริหารงานทางธุรกิจที่รวมการวางแผนการดำเนินการ แผนการผลิต แผนการขายและแผนการเงิน เข้าด้วยกันเพื่อให้ระบบเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การกำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่ 
             ระบบ สารสนเทศที่มีการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายช่วยเพิ่มความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูล เช่น ใบรายการสั่งซื้อสินค้า หรือรายการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์กร ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าและบริการจากภายนอกลงได้มาก องค์กรต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เรียกว่าเป็นการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานในรูปแบบใหม่

กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ



กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบด้วย

- การนำเข้าข้อมูล (Input) จะทำการจัดการรวบรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆขององค์กร หรือจากภายนอกองค์กร นำเข้ามาสู่ระบบ
-  การประมวลผล (Processing) จะทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนข้อมูลที่นำเข้ามาให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อ องค์กร คือสามารถนำไปใช้งานได้
- การ นำเสนอผลลัพธ์ (Output) จะจัดนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ไปนำเสนอให้แก่ผู้ใช้ตามความเหมาะสม คือ ส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว

 
Picture

โครงสร้างของระบบสารสนเทศ
                ระบบ สารสนเทศในมุมมองทางธุรกิจ คือ กระบวนการแก้ไขปัญหาที่มีการจัดการโครงสร้างอย่างดี สอดคล้องตามเทคโนโลยีข่าวสารที่นำมาใช้ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายทั้งหลายจากสิ่งแวดล้อมขององค์กรใช้ในการการ บริหารและด้านเทคโนโลยีข่าวสาร


แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน              แนวทางการการนำระบบสารสนเทศมาปรับใช้ในการบริหารองค์กร ในปัจจุบันได้มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนงานประจำวัน ช่วยให้องค์กรมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ช่วยลดชั้นในการบริหารงาน ทำให้พนักงานชั้นล่างมีอำนาจในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น และการที่จะทำให้ระบบสารสนเทศเกิดประโยชน์สูงสุดจำเป็นต้องโครงสร้างของระบบ ที่ดีด้วย

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษา

ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา อย่างมีหลักและเหตุผลของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ดังนี้
1. สำหรับผู้บริหารระดับสูง ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารและวางแผนพัฒนาการศึกษา ตลอดจนการควบคุมติดตามและประเมินผลของแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่ได้จัดทำไปแล้ว
2. ผู้บริหารระดับกลางและระดับปฏิบัติจะใช้ ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาในการควบคุมการปฏิบัติงานให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามแผนหรือเป้าหมาย
3. ผู้บริหารระดับ ห้องเรียน (ครู) จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาการเรียนการสอนในทุก ๆ ทาง เป็นการควบคุมการปฏิบัติงานในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ
4. สำหรับ บุคคลทั่ว ๆ ไป เช่น นักวิจัย นักวิชาการ หรือนักการศึกษา จะมีประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานทางวิชาการ ช่วยในการกการตัดสินใจที่มีเหตุผล หรือเพื่อแสวงหาความรู้ ทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
3. คุณสมบัติของข้อมูลและสารสนเทศที่ดี

 ข้อมูลและสารสนเทศสำหรับใช้ประกอบการดำเนินงานต่าง ๆ ควรจะมีคุณสมบัติสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1. มีความเป็นปัจจุบัน  คือต้องทันต่อการใช้ประโยชน์ ไม่ช้าจนไม่สามารถใช้บอกสถานการณ์ หรือแนวโน้มของการเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ได้ และไม่ช้าจนนำมาเป็นแนวทางวางแผนปรับปรุงงานไม่ได้ ควรจะมีการเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม
2. ตรงต่อความต้องการ ข้อมูลและสารสนเทศชุดหนึ่งอาจมีคุณค่าต่อการใช้งานหนึ่งแต่ไม่ตรงต่อความต้องการของอีกงานหนึ่ง ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในงานนั้นต่อไป
3. มีความถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากข้อมูลและสารสนเทศมีความเป็นปัจจุบันและตรงต่อความต้องการ  หากขาดความถูกต้องแล้ว การนำไปใช้ประโยชน์ก็อาจจะกลายเป็นโทษ เพราะทำให้มีการตัดสินในที่ผิดพลาด ฉะนั้นในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นตลอดจนการประมวลผลจึงควรตระหนักและให้ความ สำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

ความหมายของระบบข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของระบบข้อมูลสารสนเทศ

 คำว่า  “ข้อมูล”  และ “สารสนเทศ”  มีความหมายแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กันมากกล่าวคือ
 ข้อมูล (Data) หมาย ถึง ตัวเลข ภาษา หรือสัญลักษณ์ ที่ใช้แทนคน สิ่งของและความคิด ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เก็บรวบรวมไว้โดยไม่ผ่านการประเมิน การวิเคราะห์ ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ทันที เช่น ชื่อ ที่อยู่ จำนวน ปริมาณ เป็นต้น
 สารสนเทศ (Information) บางแห่งก็เรียกข้อสนเทศหรือสารนิเทศ หมาย ถึง การนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดกระทำ วิเคราะห์ หรือ ประมวล เพื่อให้มีความหมายหรือมีคุณค่าในการตัดสินใจ เช่น ผลจากการประเมินนักเรียน  ผลจากการประเมินโรงเรียน เป็นต้น
ตัวอย่าง
 เรา มีข้อมูลจำนวนนักเรียน จำนวนครูในโรงเรียน เมื่อนำมาจัดกระทำให้อยู่ในรูปของสารสนเทศเราอาจจะได้จำนวนนักเรียน จำแนกตามเพศ ชั้น หรืออัตราส่วนครูต่อนักเรียน ฯลฯ
 จากความหมายดังกล่าว  โรงเรียนทุกโรงเรียนจึงต้องมีทั้งข้อมูลและสารสนเทศ ความสัมพันธ์นี้จะเห็นชัดในแผนภูมิต่อไปนี้

 ฉะนั้น ระบบข้อมูลและสารสนเทศก็คือระบบการเก็บและการจัดกระทำกับข้อมูลเพื่อให้ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด  ในความหมายนี้จะเห็นว่าทุกโรงเรียนจำเป็นต้องมีระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อ ประกอบการบริหารและการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ภายในโรงเรียน

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์และข้อจำกัดของ M – Learning

ประโยชน์และข้อจำกัดของ M – Learning
ข้อดีของ M - Learning
1. มีความเป็นส่วนตัว และอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้
2. ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ เพิ่มความเป็นไปได้ในการเรียนรู้
3. มีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้มากขึ้น
4. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง
5. ด้วยเทคโนโลยีของ M - Learning ทำให้เปลี่ยนสภาพการเรียนจากที่ยึดผู้สอนเป็น
ศูนย์กลาง ไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เรียน จึงเป็นการส่งเสริมให้มีการสื่อสารกับเพื่อนและ
ผู้สอนมากขึ้น
6. สามารถรับข้อมูลที่ไม่มีการระบุชื่อได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนที่ไม่มั่นใจกล้าแสดงออกมากขึ้น
7. สามารถส่งข้อมูลไปยังผู้สอนได้ อีกทั้งกระจายซอฟต์แวร์ไปยังผู้เรียนทุกคนได้ ทำให้
ผู้เรียนทุกคนมีซอฟต์แวร์รุ่นเดียวกันเร็วกว่าการโทรศัพท์ หรืออีเมลล์
8. เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เครื่อง PDA หรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้สำหรับ M -
Learning นั้น ช่วยลดความแตกต่างทางดิจิตอลเนื่องจากราคาเครื่องถูกกว่าคอมพิวเตอร์
9. สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพทั้งในสภาพแวดล้อมทางการเรียนและการทำงาน
10. เครื่องประเภทพกพาต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นทางการเรียนและมี
ความรับผิดชอบต่อการเรียนด้วยตนเอง

ข้อด้อยของ M - Learning
1. ขนาดของความจุ Memory และขนาดหน้าจอที่จำกัดอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่าน
ข้อมูล แป้นกดตัวอักษรไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ อีกทั้งเครื่องยัง
ขาดมาตรฐาน ที่ต้องคำนึงถึงเมื่อออกแบบสื่อ เช่น ขนาดหน้าจอ แบบของหน้าจอ ที่บางรุ่นเป็น
แนวตั้ง บางรุ่นเป็นแนวนอน
2. การเชื่อมต่อกับเครือข่าย ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง และคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจนัก
3. ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์แบบพกพาได้
4. ราคาเครื่องใหม่รุ่นที่ดี ยังแพงอยู่ อีกทั้งอาจจะถูกขโมยได้ง่าย
5. ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
6. อัพเกรดยาก และเครื่องบางรุ่นก็มีศักยภาพจำกัด
7. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ขาดมาตรฐานของการผลิตสื่อเพื่อ M -
Learning
8. ตลาดของเครื่องโทรศัพท์มือถือมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว พอพอกับเครื่องที่สามารถตก
รุ่นอย่างรวดเร็ว
9. เมื่อมีผู้ใช้เครือข่ายไร้สายมากขึ้น ทำให้การรับส่งสัญญาณช้าลง
10. ยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล

แหล่งอ้างอิง
http://pirun.ku.ac.th/~g521465134/Content%20Computer/mlearning.pdf
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?tag=m-learning
http://thaimlearning.blogspot.com/

M-Learning on Tablet

การเรียนรู้ในโลกปัจจุบันมีการเรียนหลากหลายรูปแบบ ด้วยความที่โลกมีความก้าวล้ำทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และมีอุปกรณ์ ที่เป็นอุปกรณ์ช่วยในการเรียนรู้ที่เป็นอิเล็กทรอนิคส์อยู่มากมาย จากที่แต่ก่อนการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้จากตำรา หนังสือ หรือจากคำสอน แต่ในยุคนี้ หนังสือ คงไม่มีความหมายมากเท่าไหร่นัก เพราะความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี มีอุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยให้เรียนรู้ อ่านบทความต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเดินเข้าไปที่ห้องสมุด การเติบโตของ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในช่วงระยะสิบปีที่ผ่านมาเป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่ง เสริมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร และสาระความรู้ได้อย่างไร้ขอบเขต นั่นคือ ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกหนแห่ง และตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้อินเทอร์เน็ต และคลื่นลูกใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อการสื่อสารของผู้ คนก็คือ เครือข่ายไร้สาย หรือ การติดต่อผ่านทางอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น เครื่องโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาอื่นๆ ที่มีความสามารถคล้ายกัน[1] ก่อนที่จะเรียนรู้แบบ M-Learning on Tablet เรามาทำความรู้จักกับ M-Learning และ Tablet กันก่อนว่ามีความเป็นมา ความหมายและลักษณะสำคัญอย่างไร 
ความเป็นมาของ M-Learning
          สำหรับความเป็นมาของ M-Learning ถือเป็นการพัฒนาการของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เริ่มต้นมาจากนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกล หรือ d-Learning (Distance Learning) คือ สื่อการเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนจะเรียนด้วยตัวเองที่บ้านโดยไม่ต้องเดิน ทางไปเรียนที่ต่างประเทศหลักสูตรนี้จะเปิดรับสมัครตลอดทั้งปีซึ่งเปิดโอกาส ให้ผู้ที่สนใจสมัครเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้นและการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronic Learning) คือ  เป็นการเรียนรู้ ผ่านสื่อทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายไร้สายด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเรียนรู้ การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ของมนุษย์ E-Learning เป็น คำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง และครอบคลุมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้

 ความหมาย ลักษณะสำคัญของ M-Learning
            สำหรับความหมายของ M-Learning มีการให้คำจำกัดความของ M-Learning นั้นน่าจะแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน จากรากศัพท์ที่นำมาประกอบกัน ก็คือ
1. Mobile (Devices) หมายถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่น หรือแสดงภาพที่พกพาติดตัวไปได้ ดังที่จะได้ยกตัวอย่างต่อไป
2. Learning หมาย ถึงการเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากบุคคลปะทะกับสิ่งแวดล้อมจึงเกิด ประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสวงหาความรู้ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น รวมไปถึงกระบวนการสร้างความเข้าใจ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล
เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำทั้งสองแล้วจะพบว่า Learning นั่นคือแก่นของ M-Learning เพราะเป็นการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งก็คล้ายกับ E-Learning ยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ลักษณะที่สำคัญของ m-Learning คือ เป็นการเรียนทางไกล และเวลาที่ไม่ตรงกันระหว่างครูและนักเรียน การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการใหม่ของการศึกษาทางไกลที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสารเทศ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นการเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนสามารถติดต่อกันได้จากที่ห่างไกลและเวลา เดียวกันได้

ความหมาย ลักษณะสำคัญของ Tablet
สำหรับความหมายของ แท็บเล็ต – Tablet ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลาย บริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต (Tablet)
          แท็บเล็ต พีซี (Tablet personal computer)  คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงาน เป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก
ส่วนแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต (Tablet) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก
มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ
convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม
            สรุปความหมายของ แท็บเล็ต (Tablet) คือ คอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก และสามารถใช้งานได้กับระบบเครือข่ายไร้สายและมีฟันก์ชันการทำงานที่สามารถทำ ได้หลายอย่างมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
การนำ M-learning มาใช้กับ Tablet
ในการเรียนรู้ แบบ M-Learning เป็นการเรียนที่สามารถเรียนได้ทุกทีทุกเวลา ได้ทุกสถานที่ และมีอุปกรณ์ในการเรียนร็มากมาย เช่น  Notebook computers, Personal Digital Assistant (PDA), Cellular phones, Smart Phones และ Tablet PC  และในการเรียนรู้แบบ M-Learning เป็นการเรียนร็ที่สามารถเรียนได้ในหลากหลายรูปแบบ เรียนแบบตามหลักการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเข้ามาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ที่เป็นอิสระ หรือการติดต่อสื่อสาร หาคู่มือการทำงาน ดาวน์โหลด Application ใหม่ๆ หรือแม้กระทั้งการดูหนัง ฟังเพลง ก็สามารถเป็นการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน และในบทความนี้ จะยกตัวอย่างการเรียนรู้แบบ M-Learning กับ Tablet จากงานวิจัยเรื่อง “Using a Handheld Concept Mapping Tool for Cooperative Learning” [2] คือการเรียนโดยใช้โปรแกรม PicoMap เป็น การให้ผู้เรียนสามารถสร้างผังความคิดลงบนเครื่องมือช่วยสอนส่วนบุคคลแบบดิจิ ทัล โดยการนำมาใช้ในการเรียนอารสอนกับนักศึกษาพยาบาล พบว่า หากใช้เครื่องมือช่วยงานส่วยบุคคลแบบดิจิทัลสามารถทำให้ผู้เรียนสร้างผัง ความคิดได้ดี และผู้เรียนมีปฎฺสัมพันธ์แบบร่วมมือการเรียนรู้มากขึ้น มีการแลกเปลียนผังความคิดที่สร้างขึ้นระหว่างกันด้วยระบบเครือข่ายไร้สาย และผู้เรียนสารมารถใช้เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัลเป็นสือสำหรับนำ เสนอผังความคิดในการอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะก่อนการใช้เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัลในกิจกรรมการเรียน การสอนได้มีการจัดฝึกอบรมการใช้เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัลให้กับนัก ศึกษาพยาบาลก่อนจะมีการเรียนการสอนจริง
            มีการกำหนดบทบาทของอุปกรณ์ (Tablet) ที่จะนำมาใช้กับการเรียนการสอน เตรียมโปแกรมต่างๆให้พร้อมก่อนที่จะทำการเรียนการสอน และมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
            1. การวาดแผนที่ความคิด: .ให้นักเรียนสร้างแผนที่ความคิดใน Tablet โดยมีโปรแกรมรองรับในการสร้างแผนที่ความคิด เช่น PicoMap , Edraw Mind Map
            2. การแลกเปลี่ยนผังความคิด: เมื่อมีอุปกรณ์เหมือนกันสามารถแลกเปลียนความคิดกันได้
            3. ทำ การอัพโหลดงานของนักเรียน: เมื่อสร้างแผนที่ความคิดเสร็จแล้ว นักเรียนสามารถอัพโหลดงานของตัวเองให้ครูผู้สอนได้ ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้อยู่
            4. ดาวน์โหลดสื่อการเรียน: นักเรียนสามารถดาวน์สื่อการเรียนการสอนหรือวิดีโอของครูผู้สอนมาไว้ที่เครื่องของตัวเองได้ ผ่านอุปกรณ์ Tablet โดยอาศัยเครือข่ายไร้สาย
            5. การดูวิดีโด: อุปกรณ์ Tablet สามารถ ดูวิดีโอหรือสื่อการสอนของครูมาศึกษาดูก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องเรียนอยู่แค่ในห้องเรียนและสามารถปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ได้จากครูผู้สอนได้ด้วย
            6.การนำเสนอ: ในการนำเสนองานของนักเรียน สามารถส่งงานให้กับครูผู้สอนหรือนำเสนอผ่านอุกรณ์ Tablet เพื่อต่อเข้ากับโปรเจคเตอร์ได้โดยตรง เป็นการเรียนการสอนที่สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่และตลอดเวลา
            ส่วนในการเรียนรู้แบบ M-Learning ของไทยในปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ได้นำระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ m-Learning มาประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
พัฒนาระบบ RUMobileLearning จะ อำนวยความสะดวกช่วยประหยัดเวลาและ ค่าใช้จ่ายรวมทั้ง การเพิ่มช่องทางในการศึกษาอีกทางหนึ่งให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ มีกว่า 6 แสนคนนับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยที่ก้าวล้ำนำเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมาพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและไร้ขีด จำกัด[3]
เอกสารอ้างอิง

Chen,Y.  S.  2004.  A Mobile Butterfly Watching Learning System for Supporting (Online). Retrieved May 30, 2012, from http://www.csie.ntpu.edu.tw/~yschen/mypapers/
Greene, K. (2006, 14 June). Better Mobile Web Browsing. Retrieved 9 October, 2007, from http://www.technologyreview.com/read_article.aspx?id=16985
key_7546682/lai_wu_necc2005final_rp_rp.pdf.
Lai, Chin-Yuan.  (2005). Using a Handheld Concept Mapping Tool for Cooperative Learning.
Retrieved April 14, 2012, from http://center.uoregon.edu/iste/uploads/necc2005/
Ryu, H. (2007). The Status-quo of Mobile Learning. Retrieved April 11, 2007, from http://tur-www1.massey.ac.nz/~hryu/MobileLearning_v2.pdf
The Economist Intelligence Unit, & The IBM Institute for Business Value. (2006). The 2006 e-readiness rankings. Retrieved Jan 24 2007, from http://graphics.eiu.com/files/ad_pdfs/2006Ereadiness_Ranking_WP.pdf
Watson, H., & White, G. (2006). MLEARNING IN EDUCATION – A SUMMARY. Retrieved 20 Feb, 2006, from http://www.educationau.edu.au/jahia/webdav/site/myjahiasite/shared/site/mLearning.pdf
WMTE-03-1-040.pdf
ดร.พูลศรี เวศย์อุฬาร. M-Learning.(ออนไลน์). แหล่งที่มา http://thaimlearning.blogspot.com/2007/02/mobile-learning-mlearning.html. 16 มีนาคม 2555
ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2548, 25 Sept). ม.รามฯ เปิดเรียนทางมือถือ. Retrieved Oct 20, 2006, from http://www.ctc.ru.ac.th/ctc3_news/ctcnews/index.php?op=shownews&code=114


[1] ดร.พูลศรี เวศย์อุฬาร 
[2] Chin-Yuan Lai (2005)
[3] มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.m-learning.ru.ac.th


ผู้เขียน : พรกมล พงศามงคล
หน่วยงาน : นิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวร
ศุกร์ ที่ 18 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555