วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทบาทใหม่ของระบบสารสนเทศภายในองค์กร

ด้วย ขอบเขตการใช้งานที่กว้างกว่าเดิมของระบบสารสนเทศ ทำให้องค์กรมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับระบบสารสนเทศ ความซับซ้อนของกระบวนการทำงานและขอบเขตของการทำงานเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีมากยิ่งขึ้น
Picture
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับระบบสารสนเทศ

Picture
ขอบเขตการใช้งานระบบสารสนเทศที่กว้างขวางกว่าเดิม

 วิวัฒนาการ ของระบบเครือข่ายและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นอีกผลหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น กล่าวคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์หลายเครื่องให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ กลายเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า “ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์” (Computer Network) และยังมีระบบเครือข่ายที่มีขอบเขตการใช้งานอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จัก มากที่สุดในโลกอย่าง “ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต” (The Internet)       

            ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้บริการที่มีประโยชน์มากอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า “โครงข่ายโลก” หรือ WWW (World Wide Web) เป็นระบบมาตรฐานสากลในการเก็บรักษา การค้นหา และการแสดงผลบนระบบเครือข่ายที่เชื่อมกันอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย กลายเป็นวิธีการพื้นฐานสำหรับการเผยแพร่ข่าวสารในระบบสารสนเทศ
 ทางเลือก ใหม่สำหรับการออกแบบโครงสร้าง องค์กร ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ทำให้เกิดองค์กรในรูปแบบใหม่ ดังนี้

- การลดจำนวนระดับผู้บริหาร
          ทำให้มีชั้นน้อยลงกว่าเดิม ในขณะเดียวกันก็เพิ่มอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหาให้แก่ผู้บริหารระดับล่าง ผู้บริหารจึงมีอำนาจมากขึ้นกว่าในอดีตและมีความรับผิดชอบสูงขึ้น การทำงานไม่จำกัดอยู่ที่จำนวนชั่วโมงการทำงานและไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้อง ทำงานผู้บริหารอีกต่อไป ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีข่าวสารที่ทำให้พนักงานรับทราบข่าวสารที่จำเป็นได้ทันทีทันใด ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังช่วยพนักงานสามารถทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยน ข่าวสารกันได้อย่างสะดวก ความเปลี่ยนแปลงนี้จึงทำให้ผู้บริหารสามารถขยายขอบเขตความรับผิดชอบได้กว้าง กว่าเดิมและสามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย

- การแยกสถานที่ทำงานออกจากงานที่ทำ
            ด้วยเทคโนโลยีข่าวสารในปัจจุบัน อย่าง อีเมล์ ระบบอินเทอร์เน็ต และการประชุมวีดีทัศน์ ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงานหรือผู้สั่งงานสามารถทำได้โดยง่าย และไม่จำกัดสถานที่ และทำให้ส่วนประกอบบางอย่างที่ไม่จำเป็นถูกตัดออกสามารถทดแทนได้โดยการ เชื่อมต่อระบบสารสนเทศ อีกทั้งยังมีระบบการสื่อสารข้อมูลที่ทำให้การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเป็นไป ได้ง่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปด้วยตนเอง สถานที่ทำงานจึงมีขนาดเล็กลงเนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่ต้องจัดพื้นที่ สำหรับโต๊ะพนักงานอีกต่อไป

- การเพิ่มความคล่องตัวขององค์กร
             องค์กรสามารถนำเทคโนโลยีข่าวสารไปใช้เพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติในหลาย ทางซึ่งจะเกิดความยึดหยุ่นและสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ ตลอดเวลา ช่วยให้องค์กรขนาดเล็กสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ องค์กรใหญ่ ในขณะที่ช่วยให้องค์กรใหญ่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีอย่างที่ องค์กรขนาดเล็กทำได้

- วิธีการบริหารองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป
             ระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารองค์กรเพิ่มขึ้น  ผู้บริหารสามารถมองเห็นรายละเอียดและประสิทธิภาพของการทำงานระบบใดๆ ภายในองค์กรได้ตลอดเวลา องค์กรหลายแห่งได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการวางแผนความต้อง การทรัพยากรขององค์กร เรียกว่า  Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งเป็นระบบการบริหารงานทางธุรกิจที่รวมการวางแผนการดำเนินการ แผนการผลิต แผนการขายและแผนการเงิน เข้าด้วยกันเพื่อให้ระบบเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การกำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่ 
             ระบบ สารสนเทศที่มีการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายช่วยเพิ่มความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูล เช่น ใบรายการสั่งซื้อสินค้า หรือรายการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์กร ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าและบริการจากภายนอกลงได้มาก องค์กรต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เรียกว่าเป็นการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานในรูปแบบใหม่

กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ



กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบด้วย

- การนำเข้าข้อมูล (Input) จะทำการจัดการรวบรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆขององค์กร หรือจากภายนอกองค์กร นำเข้ามาสู่ระบบ
-  การประมวลผล (Processing) จะทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนข้อมูลที่นำเข้ามาให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อ องค์กร คือสามารถนำไปใช้งานได้
- การ นำเสนอผลลัพธ์ (Output) จะจัดนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ไปนำเสนอให้แก่ผู้ใช้ตามความเหมาะสม คือ ส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว

 
Picture

โครงสร้างของระบบสารสนเทศ
                ระบบ สารสนเทศในมุมมองทางธุรกิจ คือ กระบวนการแก้ไขปัญหาที่มีการจัดการโครงสร้างอย่างดี สอดคล้องตามเทคโนโลยีข่าวสารที่นำมาใช้ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายทั้งหลายจากสิ่งแวดล้อมขององค์กรใช้ในการการ บริหารและด้านเทคโนโลยีข่าวสาร


แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน              แนวทางการการนำระบบสารสนเทศมาปรับใช้ในการบริหารองค์กร ในปัจจุบันได้มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนงานประจำวัน ช่วยให้องค์กรมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ช่วยลดชั้นในการบริหารงาน ทำให้พนักงานชั้นล่างมีอำนาจในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น และการที่จะทำให้ระบบสารสนเทศเกิดประโยชน์สูงสุดจำเป็นต้องโครงสร้างของระบบ ที่ดีด้วย

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษา

ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา อย่างมีหลักและเหตุผลของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ดังนี้
1. สำหรับผู้บริหารระดับสูง ข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารและวางแผนพัฒนาการศึกษา ตลอดจนการควบคุมติดตามและประเมินผลของแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่ได้จัดทำไปแล้ว
2. ผู้บริหารระดับกลางและระดับปฏิบัติจะใช้ ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาในการควบคุมการปฏิบัติงานให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามแผนหรือเป้าหมาย
3. ผู้บริหารระดับ ห้องเรียน (ครู) จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศในการพัฒนาการเรียนการสอนในทุก ๆ ทาง เป็นการควบคุมการปฏิบัติงานในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ
4. สำหรับ บุคคลทั่ว ๆ ไป เช่น นักวิจัย นักวิชาการ หรือนักการศึกษา จะมีประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานทางวิชาการ ช่วยในการกการตัดสินใจที่มีเหตุผล หรือเพื่อแสวงหาความรู้ ทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
3. คุณสมบัติของข้อมูลและสารสนเทศที่ดี

 ข้อมูลและสารสนเทศสำหรับใช้ประกอบการดำเนินงานต่าง ๆ ควรจะมีคุณสมบัติสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1. มีความเป็นปัจจุบัน  คือต้องทันต่อการใช้ประโยชน์ ไม่ช้าจนไม่สามารถใช้บอกสถานการณ์ หรือแนวโน้มของการเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ได้ และไม่ช้าจนนำมาเป็นแนวทางวางแผนปรับปรุงงานไม่ได้ ควรจะมีการเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม
2. ตรงต่อความต้องการ ข้อมูลและสารสนเทศชุดหนึ่งอาจมีคุณค่าต่อการใช้งานหนึ่งแต่ไม่ตรงต่อความต้องการของอีกงานหนึ่ง ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในงานนั้นต่อไป
3. มีความถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากข้อมูลและสารสนเทศมีความเป็นปัจจุบันและตรงต่อความต้องการ  หากขาดความถูกต้องแล้ว การนำไปใช้ประโยชน์ก็อาจจะกลายเป็นโทษ เพราะทำให้มีการตัดสินในที่ผิดพลาด ฉะนั้นในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นตลอดจนการประมวลผลจึงควรตระหนักและให้ความ สำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

ความหมายของระบบข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของระบบข้อมูลสารสนเทศ

 คำว่า  “ข้อมูล”  และ “สารสนเทศ”  มีความหมายแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กันมากกล่าวคือ
 ข้อมูล (Data) หมาย ถึง ตัวเลข ภาษา หรือสัญลักษณ์ ที่ใช้แทนคน สิ่งของและความคิด ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เก็บรวบรวมไว้โดยไม่ผ่านการประเมิน การวิเคราะห์ ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ทันที เช่น ชื่อ ที่อยู่ จำนวน ปริมาณ เป็นต้น
 สารสนเทศ (Information) บางแห่งก็เรียกข้อสนเทศหรือสารนิเทศ หมาย ถึง การนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดกระทำ วิเคราะห์ หรือ ประมวล เพื่อให้มีความหมายหรือมีคุณค่าในการตัดสินใจ เช่น ผลจากการประเมินนักเรียน  ผลจากการประเมินโรงเรียน เป็นต้น
ตัวอย่าง
 เรา มีข้อมูลจำนวนนักเรียน จำนวนครูในโรงเรียน เมื่อนำมาจัดกระทำให้อยู่ในรูปของสารสนเทศเราอาจจะได้จำนวนนักเรียน จำแนกตามเพศ ชั้น หรืออัตราส่วนครูต่อนักเรียน ฯลฯ
 จากความหมายดังกล่าว  โรงเรียนทุกโรงเรียนจึงต้องมีทั้งข้อมูลและสารสนเทศ ความสัมพันธ์นี้จะเห็นชัดในแผนภูมิต่อไปนี้

 ฉะนั้น ระบบข้อมูลและสารสนเทศก็คือระบบการเก็บและการจัดกระทำกับข้อมูลเพื่อให้ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด  ในความหมายนี้จะเห็นว่าทุกโรงเรียนจำเป็นต้องมีระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อ ประกอบการบริหารและการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ภายในโรงเรียน