วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

M-Learning on Tablet

การเรียนรู้ในโลกปัจจุบันมีการเรียนหลากหลายรูปแบบ ด้วยความที่โลกมีความก้าวล้ำทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และมีอุปกรณ์ ที่เป็นอุปกรณ์ช่วยในการเรียนรู้ที่เป็นอิเล็กทรอนิคส์อยู่มากมาย จากที่แต่ก่อนการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้จากตำรา หนังสือ หรือจากคำสอน แต่ในยุคนี้ หนังสือ คงไม่มีความหมายมากเท่าไหร่นัก เพราะความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี มีอุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยให้เรียนรู้ อ่านบทความต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเดินเข้าไปที่ห้องสมุด การเติบโตของ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในช่วงระยะสิบปีที่ผ่านมาเป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่ง เสริมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร และสาระความรู้ได้อย่างไร้ขอบเขต นั่นคือ ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกหนแห่ง และตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้อินเทอร์เน็ต และคลื่นลูกใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อการสื่อสารของผู้ คนก็คือ เครือข่ายไร้สาย หรือ การติดต่อผ่านทางอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น เครื่องโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาอื่นๆ ที่มีความสามารถคล้ายกัน[1] ก่อนที่จะเรียนรู้แบบ M-Learning on Tablet เรามาทำความรู้จักกับ M-Learning และ Tablet กันก่อนว่ามีความเป็นมา ความหมายและลักษณะสำคัญอย่างไร 
ความเป็นมาของ M-Learning
          สำหรับความเป็นมาของ M-Learning ถือเป็นการพัฒนาการของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เริ่มต้นมาจากนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกล หรือ d-Learning (Distance Learning) คือ สื่อการเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนจะเรียนด้วยตัวเองที่บ้านโดยไม่ต้องเดิน ทางไปเรียนที่ต่างประเทศหลักสูตรนี้จะเปิดรับสมัครตลอดทั้งปีซึ่งเปิดโอกาส ให้ผู้ที่สนใจสมัครเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้นและการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronic Learning) คือ  เป็นการเรียนรู้ ผ่านสื่อทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายไร้สายด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเรียนรู้ การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ของมนุษย์ E-Learning เป็น คำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง และครอบคลุมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้

 ความหมาย ลักษณะสำคัญของ M-Learning
            สำหรับความหมายของ M-Learning มีการให้คำจำกัดความของ M-Learning นั้นน่าจะแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน จากรากศัพท์ที่นำมาประกอบกัน ก็คือ
1. Mobile (Devices) หมายถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่น หรือแสดงภาพที่พกพาติดตัวไปได้ ดังที่จะได้ยกตัวอย่างต่อไป
2. Learning หมาย ถึงการเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากบุคคลปะทะกับสิ่งแวดล้อมจึงเกิด ประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสวงหาความรู้ การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น รวมไปถึงกระบวนการสร้างความเข้าใจ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล
เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำทั้งสองแล้วจะพบว่า Learning นั่นคือแก่นของ M-Learning เพราะเป็นการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งก็คล้ายกับ E-Learning ยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ลักษณะที่สำคัญของ m-Learning คือ เป็นการเรียนทางไกล และเวลาที่ไม่ตรงกันระหว่างครูและนักเรียน การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการใหม่ของการศึกษาทางไกลที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสารเทศ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นการเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนสามารถติดต่อกันได้จากที่ห่างไกลและเวลา เดียวกันได้

ความหมาย ลักษณะสำคัญของ Tablet
สำหรับความหมายของ แท็บเล็ต – Tablet ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลาย บริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต (Tablet)
          แท็บเล็ต พีซี (Tablet personal computer)  คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงาน เป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก
ส่วนแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต (Tablet) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก
มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ
convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม
            สรุปความหมายของ แท็บเล็ต (Tablet) คือ คอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก และสามารถใช้งานได้กับระบบเครือข่ายไร้สายและมีฟันก์ชันการทำงานที่สามารถทำ ได้หลายอย่างมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
การนำ M-learning มาใช้กับ Tablet
ในการเรียนรู้ แบบ M-Learning เป็นการเรียนที่สามารถเรียนได้ทุกทีทุกเวลา ได้ทุกสถานที่ และมีอุปกรณ์ในการเรียนร็มากมาย เช่น  Notebook computers, Personal Digital Assistant (PDA), Cellular phones, Smart Phones และ Tablet PC  และในการเรียนรู้แบบ M-Learning เป็นการเรียนร็ที่สามารถเรียนได้ในหลากหลายรูปแบบ เรียนแบบตามหลักการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเข้ามาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ที่เป็นอิสระ หรือการติดต่อสื่อสาร หาคู่มือการทำงาน ดาวน์โหลด Application ใหม่ๆ หรือแม้กระทั้งการดูหนัง ฟังเพลง ก็สามารถเป็นการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน และในบทความนี้ จะยกตัวอย่างการเรียนรู้แบบ M-Learning กับ Tablet จากงานวิจัยเรื่อง “Using a Handheld Concept Mapping Tool for Cooperative Learning” [2] คือการเรียนโดยใช้โปรแกรม PicoMap เป็น การให้ผู้เรียนสามารถสร้างผังความคิดลงบนเครื่องมือช่วยสอนส่วนบุคคลแบบดิจิ ทัล โดยการนำมาใช้ในการเรียนอารสอนกับนักศึกษาพยาบาล พบว่า หากใช้เครื่องมือช่วยงานส่วยบุคคลแบบดิจิทัลสามารถทำให้ผู้เรียนสร้างผัง ความคิดได้ดี และผู้เรียนมีปฎฺสัมพันธ์แบบร่วมมือการเรียนรู้มากขึ้น มีการแลกเปลียนผังความคิดที่สร้างขึ้นระหว่างกันด้วยระบบเครือข่ายไร้สาย และผู้เรียนสารมารถใช้เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัลเป็นสือสำหรับนำ เสนอผังความคิดในการอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะก่อนการใช้เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัลในกิจกรรมการเรียน การสอนได้มีการจัดฝึกอบรมการใช้เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัลให้กับนัก ศึกษาพยาบาลก่อนจะมีการเรียนการสอนจริง
            มีการกำหนดบทบาทของอุปกรณ์ (Tablet) ที่จะนำมาใช้กับการเรียนการสอน เตรียมโปแกรมต่างๆให้พร้อมก่อนที่จะทำการเรียนการสอน และมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
            1. การวาดแผนที่ความคิด: .ให้นักเรียนสร้างแผนที่ความคิดใน Tablet โดยมีโปรแกรมรองรับในการสร้างแผนที่ความคิด เช่น PicoMap , Edraw Mind Map
            2. การแลกเปลี่ยนผังความคิด: เมื่อมีอุปกรณ์เหมือนกันสามารถแลกเปลียนความคิดกันได้
            3. ทำ การอัพโหลดงานของนักเรียน: เมื่อสร้างแผนที่ความคิดเสร็จแล้ว นักเรียนสามารถอัพโหลดงานของตัวเองให้ครูผู้สอนได้ ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้อยู่
            4. ดาวน์โหลดสื่อการเรียน: นักเรียนสามารถดาวน์สื่อการเรียนการสอนหรือวิดีโอของครูผู้สอนมาไว้ที่เครื่องของตัวเองได้ ผ่านอุปกรณ์ Tablet โดยอาศัยเครือข่ายไร้สาย
            5. การดูวิดีโด: อุปกรณ์ Tablet สามารถ ดูวิดีโอหรือสื่อการสอนของครูมาศึกษาดูก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องเรียนอยู่แค่ในห้องเรียนและสามารถปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ได้จากครูผู้สอนได้ด้วย
            6.การนำเสนอ: ในการนำเสนองานของนักเรียน สามารถส่งงานให้กับครูผู้สอนหรือนำเสนอผ่านอุกรณ์ Tablet เพื่อต่อเข้ากับโปรเจคเตอร์ได้โดยตรง เป็นการเรียนการสอนที่สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่และตลอดเวลา
            ส่วนในการเรียนรู้แบบ M-Learning ของไทยในปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ได้นำระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ m-Learning มาประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
พัฒนาระบบ RUMobileLearning จะ อำนวยความสะดวกช่วยประหยัดเวลาและ ค่าใช้จ่ายรวมทั้ง การเพิ่มช่องทางในการศึกษาอีกทางหนึ่งให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ มีกว่า 6 แสนคนนับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยที่ก้าวล้ำนำเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมาพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและไร้ขีด จำกัด[3]
เอกสารอ้างอิง

Chen,Y.  S.  2004.  A Mobile Butterfly Watching Learning System for Supporting (Online). Retrieved May 30, 2012, from http://www.csie.ntpu.edu.tw/~yschen/mypapers/
Greene, K. (2006, 14 June). Better Mobile Web Browsing. Retrieved 9 October, 2007, from http://www.technologyreview.com/read_article.aspx?id=16985
key_7546682/lai_wu_necc2005final_rp_rp.pdf.
Lai, Chin-Yuan.  (2005). Using a Handheld Concept Mapping Tool for Cooperative Learning.
Retrieved April 14, 2012, from http://center.uoregon.edu/iste/uploads/necc2005/
Ryu, H. (2007). The Status-quo of Mobile Learning. Retrieved April 11, 2007, from http://tur-www1.massey.ac.nz/~hryu/MobileLearning_v2.pdf
The Economist Intelligence Unit, & The IBM Institute for Business Value. (2006). The 2006 e-readiness rankings. Retrieved Jan 24 2007, from http://graphics.eiu.com/files/ad_pdfs/2006Ereadiness_Ranking_WP.pdf
Watson, H., & White, G. (2006). MLEARNING IN EDUCATION – A SUMMARY. Retrieved 20 Feb, 2006, from http://www.educationau.edu.au/jahia/webdav/site/myjahiasite/shared/site/mLearning.pdf
WMTE-03-1-040.pdf
ดร.พูลศรี เวศย์อุฬาร. M-Learning.(ออนไลน์). แหล่งที่มา http://thaimlearning.blogspot.com/2007/02/mobile-learning-mlearning.html. 16 มีนาคม 2555
ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2548, 25 Sept). ม.รามฯ เปิดเรียนทางมือถือ. Retrieved Oct 20, 2006, from http://www.ctc.ru.ac.th/ctc3_news/ctcnews/index.php?op=shownews&code=114


[1] ดร.พูลศรี เวศย์อุฬาร 
[2] Chin-Yuan Lai (2005)
[3] มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.m-learning.ru.ac.th


ผู้เขียน : พรกมล พงศามงคล
หน่วยงาน : นิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวร
ศุกร์ ที่ 18 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555

 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น